Monday, November 28, 2011

ความรู้เกี่ยวกับสเตนเลส

สเตนเลส หรือตามศัพท์บัญญัติเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเติมนิเกิล โมบิดินัม ไททาเนียม ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้

สเตนเลส สตีล แบ่งเป็น 5 ชนิดหลัก
เกรด ออสเตนิติก (Austenitic)
แม่เหล็ดดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมียม 18%แล้ว ยังมีนิเกิลที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย ชนิดออสเตนิติกเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสเตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20% ถึง 25% และนิกเกิล 1%ถึง 20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)
เกรดเฟอร์ริติก (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%
เกรดมาร์เทนซิติก (Martensitic) แม่เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12%และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน
เกรดดูเพล็กซ์ (Duplex) แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัด กร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงกดดัน (Stress corrosion cracking resistance) เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel) มีโครเมียมผสมอยู่ 17 % และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน สเตนเลส สตีล ที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95%ของเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติทางกายภาพของสเตนเลส
ค่าความหนาแน่นสูงของสเตนเลสแตกต่างจาก วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถทนความร้อนของสเตนเลส มีข้อสังเกต 3 ประการคือ
- การที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้มีอัตราความคืบดี เมื่อเทียบกับเซรามิกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 1000 องศา C
- การที่มีค่านำความร้อนระดับปานกลาง ทำให้สเตนเลสเหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทนความร้อน (คอนเทนเนอร์) หรือต้องการคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี (เครื่องถ่ายความร้อน)
- การมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวระดับปานกลาง จึงสามารถใช้ความยาวมากๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมน้อย (เช่น ในการทำหลังคา)
คุณสมบัติเชิงกล
สเตนเลสโดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติของเหล็กที่สำคัญ 2 ประการคือ ความแข็งและความแกร่ง คุณสมบัติเชิงกลเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่น จะเห็นได้ว่าพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมีความแข็งแรง และโมดูลัส ความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนเซรามิกมีความแข็งแรงและความเหนียวสูงแต่มีความแกร่งหรือความสามารถรับ แรงกระแทกโดยไม่แตกหักต่ำ
สเตนเลสให้ ค่าเป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว เนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยุ่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติก ค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) ของสเตนเลส ไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้เย็นตัวโดยเร็ว (Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก (Preciptation Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง
คุณสมบัติของสเตนเลส
สเตนเลสต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างต่างกัน จะมีลักษณะค่าความแข็งแรงที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันดังในรูปจะแสดงให้เห็น แนวโค้งของค่าความแข็งแรง โดยทั่วไปของเกรดสเตนเลส 4ชนิด
- เกรดมาร์เทนซิติก มี ค่าความจำนนความแข็งแรง (Yield Strength : YS) และค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strenght : UTS) สูงมากในสภาพที่ผ่านกระบวนการอบชุบ แต่จะมีค่าการยืดตัว (Elongation : EL %) ต่ำ
- เกรดเฟอร์ริติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความแข็งแรงสูงสุดปานกลาง เมื่อรวมกับค่าความยืดตัวสูง จึงทำให้สามารถขึ้นรูปได้ดี
- เกรดออสเตนิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรงใกล้เคียงกับชนิดเฟอร์ริติก แต่มีค่าความแข็งแรงสูงสุดและความยืดตัวสูง จึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก
- เกรดดูเพล็กซ์ (ออสเตไนท์ - เฟอร์ไรต์) มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความยืดตัวสูงจึงเรียกได้ว่า เหล็กชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรง และความเหนียว (Ductility) ที่สูงเป็นเลิศ
ความต้านทานการกัดกร่อน
เหตุใด? สเตนเลสจึงทนต่อการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดทั่วไปจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซต์บนผิวโลหะ หรือออกไซต์ ที่เกิดบนผิวเหล็กทั่วไป จะทำปฎิกิริยาออกซิไดซ์ และทำให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อน ที่เราเรียกว่า เป็นสนิม แต่สเตนเลสมีโครเมียมผสมอยู่ 10.5% ขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกัน การกัดกร่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เรียกว่า พาสซิวิตี้ (Passivity)
ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส จากการกัดกร่อนทั้งมวล หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา
ความคงทนของพาสซีสเลเยอร์ เป็นปัจจัยหลักของความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลส นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพการกัดกร่อนอันได้แก่ ความรุนแรง ของปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ความเป็นกรดปริมาณสารละลายคลอไรต์ และอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มปริมาณ โครเมียมจะช่วยเพิ่มความ ต้านทาน การกัดกร่อนของสเตนเลส การเติมนิเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยทั่วไป ให้ทนสภาวะกัดกร่อนรุนแรงได้ ส่วนโมลิบดินัมจะช่วยเพิ่ม ความต้านทานการกัดกร่อนเฉพาะที่ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting Corrosion)
ในทางปฏิบัติ สเตนเลสชนิดเฟอร์ริติก มีการใช้งานจำกัดในสภาพการกัดกร่อนปานกลางและในสภาพชนบท ทั้งชนิดเฟอร์ริติกและออสเตนิติก สามารถใช้ทำ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนได้แต่เนื่องจากชนิดออสเตนิติกสามารถทนการกัด กร่อนได้ดี และทำความสะอาดง่าย จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชนิดออสเตนิติกยังทนการกัดกร่อนจากสารเคมีหลายประเภทได้แก่ กรด, อัลคาลายด์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมเคมี และกระบวนการผลิตต่าง ๆ

ผิวสำเร็จชนิดต่างๆ ของเสตนเลส
No.1 - ผิวผ่านการรีดร้อน อบอ่อน ขจัดสนิม และกัดกรด (Descaling & Pickling)
ผิวมีสีขาวเทา ค่ิอนข้างหยาบ เนื่อจากผ่านการกัดกรดที่รุนแรง
2D - ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อน และกัดกรด
2B - ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อน กัดกรด และรีดปรับความเรียบผิว (Skin pass rolling)
BA - ผิวผ่านการรีดเย็น และอบอ่อน ในสภาพบรรยากาศควบคุม ทำให้ผิวมีลักษณะมันเงา
No.3 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 100-200
No.4 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 150-180
#240 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 240
#320 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 320
#400 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 400
HL - ผิวผ่านการขัดละเอียด โดยมีลายขัดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม (Hair line)
Mirror - ผิวจะเงาและสะท้อนดีมาก ได้จากการขัดด้วยวัสดุที่ละเอียดมาก
Distressed - ผิวที่มีลวดลายรอยขีด (Scratch) ไม่เป็นระเบียบ (Random)
Embossing - ผิวมีลวดลายนูนจากการรีด
Plating - ผิวเคลือบด้วยโลหะมีสี หรือเคลือบด้วยโลหะมีค่า

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยทั่วไป
- ผงซักฟอก และสบู่ที่ใช้ในบ้าน น้ำยาทำความสะอาดกระจก ใช้ล้างสเตนเลสได้เป็นครั้งคราว แต่ต้องล้างออกด้วยน้ำเย็นให้หมด
- ยาฆ่าเชื้อ ในบ้านและในอุตสาหกรรม ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อเจือจาง โดยจำกัดจำนวนครั้งที่ใช้ ต้องล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด
- สารละลาย แอลกอฮอล์ และอะเซโทน สำหรับคราบที่ล้างด้วยสบู่ไม่ออก เช่น สี และคราบมันจากสารอนินทรีย์ จากนั้นล้างด้วยสารละลายแล้วเช็ดออกด้วยสบู่ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- กรดทำความสะอาด สารละลายทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสและไนตริก เป็น วิธีสุดท้ายที่ควรใช้ทำความสะอาดสเตนเลส ล้างออกด้วยน้ำร้อนหลายๆครั้ง โดยใช้ความระมัดระวัง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสำหรับการใช ้ที่ถูกต้องและปลอดภัย
- ทำความสะอาดโดย ใช้เครื่องมือ การยิงผิวหน้า, การขัดผิวหน้า,
การขัดด้วยลวด, การใช้ผงขัด คราบที่ล้างออกยาก ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเชิงกล ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องปลอดออกไซต์หลัก และระวังไม่ให้เกิดคราบขึ้นอีก การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะทำให้ พื้นผิวสตนเลสมีการเปลี่ยนแปลง
วิธีทำความสะอาดสำหรับคราบสกปรกโดยทั่วไป
รอยนิ้วมือ
- ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรืออาเซโทน ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
น้ำมัน คราบน้ำมัน - ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น ๆ
สี - ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่ม ๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง
Carbob Deposit or Bked-on - จุ่มลงในน้ำ ใช้สารละลายที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน - ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสเตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
ป้ายและสติกเกอร์ - จุ่มลงในน้ำอุ่น ๆ ลอกเอาป้ายออกแล้วถูกาวออกด้วยเบนซิน ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
รอยน้ำ / มะนาว - จุ่มลงในน้ำส้มสายชูเจือจาง (25%) หรือกรดไนตริก (15%) ล้างให้สะอาด ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล่างให้สะอาดด้วนน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
คราบชา กาแฟ - ล้างด้วยโซดาไบคาร์บอเนต ในน้ำ ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
คราบสนิม - จุ่มในน้ำอุ่นที่มีส่สนผสมสารละลายกรดไนตริก ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด หรือล้างผิวด้วยสารละลายกรดออกชาลิค ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้งหรือต้องใช้เครื่องมือล้างหากคราบสนิมติด แน่น

ข้อปฎิบัติสำหรับงานสเตนเลส
ควรทำ
- เมื่อไม่ได้มีการทำความสะอาดสเตนเลส อย่างสม่ำเสมอ เมื่อสังเกตเห็นคราบหรือฝุ่นละอองใด ๆ ต้องรีบทำความสะอาดทันที
- การทำความสะอาดสเตนเลส ควรเริ่มจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่อ่อนที่สุด โดยเริ่มใช้ในบริเวณเล็ก ๆ ก่อนเพื่อดูว่าเกิดผลกระทบอะไร กับผิวสเตนเลสหรือไม่
- ใช้น้ำอุ่นล้างคาบความมันออก ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดชิ้นส่วนสเตนเลส
- หมั่นล้างสเตนเลสด้วนน้ำสะอาด เป็นขั้นตอนสุดท้ายเช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม หรือกระดาษชำระ
- เมื่อใช้กรดกัดทำความสะอาดสเตนเลส ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
- หลังจากใช้เครื่องครัวที่ทำด้วยสเตนเลส ควรล้างให้สะอาดทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงคราบ/สนิมเหล็ก ที่อาจติดมากับอุปกรณ์ทำความสะอาด ที่ทำมาจากเหล็ก หรือใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน
- ในกรณีที่ประสบปัญหาในการทำความสะอาด
สเตนเลสควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ไม่ควรทำ
- ไม่ควรเคลือบผิวสเตนเลสด้วยแว็กหรือวัสดุที่ผสมน้ำมันเพราะจะทำให้คราบสกปรก หรือฝุ่นละอองติดบนพื้นผิวได้ง่ายขึ้นและล้างทำความสะอาดออกได้ยาก
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่มีส่วนประกอบของคลอไรด์และฮาไลด์ เช่น โบรไมน์, ไอโอดีนและผลูออรีน
- ไม่ควรใช้กรดไฮโดรคลอริก (HCI) ในการทำความสะอาด เพราะอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อน แบบรูเข็ม และการแตกเนื่องจากความเครียด (Stress Corrosion Crocking)
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราไม่แน่ใจ
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดเครื่องเงิน ในการทำความสะอาดสเตนเลส
- ไม่ควรใช้สบู่ หรือผงซักฟอกมากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวสเตนเลสมัวและหมองลง
- ไม่ควรทำความสะอาด และทำพาสซิเวชั่นในขั้นตอนเดียวกัน ควรทำตามขั้นตอน คือ ล้างก่อนแล้วค่อยทำพาสซิเวชั่น


ระดับความเหมาะสมในการเลือกใช้วิธีการขึ้นรูปเหล็กกล้าไร้สนิม
Steel
0.20%
Suitability for:
yield
strength,
 
 
Press-
Deep
 
Roll
 
 
6.89 Mpa
Blanking
Piercing
brake
drawing
Spinning
forming
Coining
Embossing
(1 ksi)
 
 
forming
 
 
 
 
 
Austenitic steels
201
55
B
C
B
A -B
C - D
B
B - C
B - C
202
55
B
B
A
A
B - C
A
B
B
301
40
B
C
B
A - B
C - D
B
B - C
B - C
302
37
B
B
A
A
B - C
A
B
B
302B
40
B
B
B
B - C
C
C
B - C
303, 303(Se)
35
B
B
D (a)
D
D
D
C - D
C
304
35
B
B
A
A
B
A
B
B
304L
30
B
B
A
A
B
A
B
B
305
37
B
B
A
B
A
A
A - B
A - B
308
35
B
B (a)
D
D
D
D
309, 309S
40
B
B
A (a)
B
C
B
B
B
310, 310S
40
B
B
A (a)
B
B
A
B
B
314
50
B
B
A (a)
B - C
C
B
B
B - C
316
35
B
B
A (a)
B
B
A
B
B
316L
30
B
B
A (a)
B
B
A
B
B
317
40
B
B
A (a)
B
B - C
B
B
B
321, 347, 348
35
B
B
A
B
B - C
B
B
B
Martensitic steels
403, 410
40
A
A - B
A
A
A
A
A - B
A
414
95
A
B
A (a)
B
C
C
B
C
416, 416(Se)
40
B
A - B
C (a)
D
D
D
D
C
420
50
B
B - C
C (a)
C - D
D
C - D
C - D
C
431
95
C - D
C - D
C (a)
C - D
D
C - D
C - D
C - D
440A
60
B - C
C (a)
C - D
D
C - D
D
C
440B
62
D
D
D
440C
65
D
D
D
ferritic steels
405
40
A
A - B
A (a)
A
A
A
A - B
A
409
38
A
A - B
A (a)
A
A
A
A - B
A
430
45
A
A - B
A (a)
A - B
A - B
A
A - B
A
430F, 430F(Se)
55
B
A - B
B -C (a)
D
D
D
C - D
C
442
...
A
A - B
A (a)
B
B
A
B
B
446
50
A
B
A (a)
B - C
B - C
B
B
B
(a) Severe sharp bends should be avoide.
หมายเหตุ A : ดีเยี่ยม ; B : ดี ; C : พอใช้ ; D : ไม่เหมาะสม

ผิวสเตนเลส (รีดเย็น) โดยทั่วไปมีหลากหลายแบบเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
ชื่อผิว วิธีการขัด
BA เป็นผิวสเตนเลสแบบมันเงา มีความสะท้อนแสง 54%
2D ผิวด้านไม่เงา มีความสะท้อนแสง 13% ผลิตโดยวิธีการรีดเย็นจากโรงงาน
ตามด้วยการอบอ่อน และขจัดคราบออกไซด์ออก
2B ลักษณะผิวจะเงาขึ้นเล็กน้อยจากผิว 2D มีความสะท้อนแสง 22%
ในเกรดออสเทนนิติค(304, 316) และ 46% ในเกรดเฟอร์ริติก (410, 430)
No.4 เป็นผิวที่มีการขัดด้วยกระดาษทราย เบอร์ 150-180
No.5 เป็นผิวขัด No.4 ที่ผ่านเครืองปรับผิว (skin pass)
No.6 เป็นผิวขัดด้วยวัสดุขัดเบอร์ 200 - 300
No.7 เป็นผิวขัดด้วยวัสดุขัดประเภทผ้าสักหลาด (Buffing)
No.8 ขัดผิวให้มีความเงาเหมือนกระจก(Mirror Finish)
ผ่านการขัดด้วยวัสดุขัดประเภทสำลี หรือผ้าสักหลาด
HL ขัดผิวอย่างละเอียดด้วยกระดาษทรายให้มีรอยขีดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม(HAIR LINE)

## วิธีการขัดผิวสเตนเลสให้ได้ผิวที่เหมาะแก่การใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา
เช่นเดียวกันโดยวิธีการขัดที่นิยมใช้ ได้แก่

**
การขัดผิวด้วยกระบวนการเชิงกล (Mechanical Polishing)
** นิยมใช้กับสเตนเลสที่เป็นแผ่นหนา หรือสเตนเลสในลักษณะเป็นม้วน (coil)

** การขัดผิวด้วยกระบวนการทางเคมี (Chemical Polishing)
** นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสขนาดเล็ก และบาง เช่น สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ซึ่งไม่เหมาะที่จะขัดด้วยกระบวนการขัดเชิงกล

** การขัดผิวด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า ( Electro Polishing)
** นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสที่ต้องการความละเอียด และความสะอาดของผิวสูง เช่น อุปกรณ์ สำหรับผลิตยา หรือเครื่องสำอาง
** หมายเหตุ "L" Grades แสดง ถึงสเตนเลสนั้นมีคาร์บอนผสมอยู่น้อย (Low Carbon) ซึ่ง L เกรด จะเพิ่มความต้านทานพิเศษของการกัดกร่อนตามขอบเกรน แม้ผ่านการเชื่อมมาแล้ว แต่สเตนเลสชนิด L เกรด ราคาจะสูงกว่าชนิดธรรมดา เช่น 304L, 316L เป็นต้น

ผิวสเตนเลส (รีดเย็น) โดยทั่วไปมีหลากหลายแบบเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
Grade ลักษณะการนำไปใช้งาน ประเภทอุตสาหกรรมที่นำไปใช้
201 - ทำพื้นรถเข็นต่างๆ - อุตสาหกรรมรถเข็น
- ทำเฟอร์นิเจอร์ - อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- ทำแผง และอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ - อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง
- ถังเก็บ, ถังแก๊ส - อุตสาหกรรมแก๊ส
- กันชนรถทุกประเภท - อุตสาหกรรมประกอบรถบรรทุก
- ท่อพักท่อไอเสีย - อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
- ลายประดับรั้ว, ราวประเภทต่างๆ - อุตสาหกรรมทำรั้ว, ราวประตู,
หน้าต่างๆ(ใช้งานภายใน)
202 - ใกล้เคียงกับเกรด 201 แต่มี เหมือนเกรด 201
ความต้านทานการกัดกร่อนได้ดีกว่า
304 - ตู้เย็น,เครื่องทำความเย็น - อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเย็น
- ทำเฟอร์นิเจอร์สนาม, เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานภายนอก - อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- ถัง/แทงค์ บรรจุน้ำ - อุตสาหกรรมผลิตถังน้ำ
- เครื่องใช้เกี่ยวกับครัวเรือน เช่น - อุตสาหกรรมผลิต/สั่งทำ
เตา - โต๊ะ : อุปกร์ประกอบอาหาร เครื่องครัวอุปกรณ์,อุปกรณ์ต่างๆ
- เครื่องมือเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาล - อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
- เครื่องล้างจาน, อ่างล้างจาน, ภาชนะหุงต้ม - อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน/
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
316 - โดยทั่วไปมีการใช้งานเหมือนเกรด 304 ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่กว้างกว่าเกรด 304 คือ
- งานตกแต่งอาคาร, งานสถาปัตยกรรม - อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตกแต่งภายใน
- ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม - อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม
- ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ,เวชภัณฑ์ - อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ต่างๆ ที่ใช้ในโรงพยาบาล
- ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้อุตสาหกรรมต่อเรือ - อุตสาหกรรมการต่อเรือ
410, 430 - ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์, สินค้าตกแต่งภายในบ้าน, อาคาร - อุตสาหกรรมตกแต่งภายในอาคาร
409, 409L - เครื่องใช้, เครื่องมือบนโต๊ะอาหาร, มีด, ช้อน-ส้อม - อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน
- อุปกรณ์ ดูดฝุ่น, ท่อดูดควัน, ท่อดัก - อุตสาหกรรมผลิตท่อต่างๆ
- ใช้ทำส่วนประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น - อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนรถยนต์
ท่อพัก, ท่อไอเสีย,ถังน้ำมัน

## วิธีการขัดผิวสเตนเลสให้ได้ผิวที่เหมาะแก่การใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา
เช่นเดียวกันโดยวิธีการขัดที่นิยมใช้ ได้แก่

**
การขัดผิวด้วยกระบวนการเชิงกล (Mechanical Polishing)
** นิยมใช้กับสเตนเลสที่เป็นแผ่นหนา หรือสเตนเลสในลักษณะเป็นม้วน (coil)

** การขัดผิวด้วยกระบวนการทางเคมี (Chemical Polishing)
** นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสขนาดเล็ก และบาง เช่น สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ซึ่งไม่เหมาะที่จะขัดด้วยกระบวนการขัดเชิงกล

** การขัดผิวด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า ( Electro Polishing)
** นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสที่ต้องการความละเอียด และความสะอาดของผิวสูง เช่น อุปกรณ์ สำหรับผลิตยา หรือเครื่องสำอาง
** หมายเหตุ "L" Grades แสดง ถึงสเตนเลสนั้นมีคาร์บอนผสมอยู่น้อย (Low Carbon) ซึ่ง L เกรด จะเพิ่มความต้านทานพิเศษของการกัดกร่อนตามขอบเกรน แม้ผ่านการเชื่อมมาแล้ว แต่สเตนเลสชนิด L เกรด ราคาจะสูงกว่าชนิดธรรมดา เช่น 304L, 316L เป็นต้น
 

ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic)
  • ต้านทานการกัดกร่อนดีเยี่ยม
  • ใช้งานประกอบและขึ้นรูป ทีเกี่ยวข้องกับความสะอาดและสุขอนามัยได้ดีเลิศ
  • สะดวกในงานสร้าง ประกอบหรือขึ้นรูปทั่วไปได้ดีมาก
  • ความแข็งแรงสูงสุดและมความยืดตัวสูง
  • แม่เหล็กดูดไม่ติด
  • สามารถใช้งานเย็นจัดและร้อนจัดที่อุณหภูมิประมาณ 600 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่านี้
ตระกูลเฟอร์ริติค (Ferritic)
  • ต้านทานการกัดกร่อนปานกลางถึงดี
  • ต้านทานการกัดกร่อนแบบเป็นจุดและแบบมุมอับในซอกแคบๆ ได้ดีและมีความต้านทานการกัดกร่อนใต้แรงเค้นดีกว่าเกรดออสเทนนิติก
  • มีข้อจำกัดในการเชื่อมและ การขึ้นรูป เช่น ดัด ดึงขึ้นรูป มากกว่าเกรดออสเทนนิติค
  • มีความต้านทานการเกิดออกซิไดซ์ที่อุณหภูมิสูงถึง 850 องศาเซลเซียส
  • แม่เห็กดูดติด
  • ไม่สามารถชุบแข็งได้
ตระกูลมาร์เทนซิติค
  • ความต้านทานการกัดกร่อนปานกลาง
  • แม่เหล็กดูดติด
  • สามารถทำให้แข็งได้ด้วยกรรมวิธีทางความร้อน ดังนั้นจึงสามารถพัฒนาปรับปรุงให้มีความแข็งแรงสูงและปรับระดับควมแข็งแรงได้
  • มีข้อจำกัดในการเชื่อม เนื่องจากมีปริมาณคาร์บอนสูงและมีความแข็งโดยธรรมชาติในตัวเอง
  • ใช้งานในอุณหภูมิสูงได้ดีถึง 593 องศาเซลเซียส
ตระกูลดูเพล็กซ์ ( Duplex)
- การที่โครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ริติค และออสเทนนิติค ทำให้สามารถต้านทานการแตกร้าว จากการกัดกร่อนด้วยแรงเค้นสูงและการกัดกร่อนเป็นรู
  • ทนต่อสารคลอไรด์ทำให้ใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูงได้
  • ต้านทานการกัดกร่อนได้ดี เนื่องจากมีส่วนผสมของโครเมียมสูงและเพิ่มส่วนผสมของธาตุโมลิบดิบนัม ไนโตรเจน
  • ใช้ในงานเชื่อมและขึ้นรูปได้ดีเช่น งานปั๊มก้นลึก
เนื่องจากมีสมบัติเชิงกลดีเลิศในการใช้งานที่อุณหภูมิติดลบ ได้ถึง -225 องศาเซลเซียส หรือ ใช้งานที่อุณภูมิ (ถึง 1100 องศาเซลเซลเซียส) 


ที่มา : วรรณิดา เหล็กดัด อินเตอร์

No comments:

Post a Comment