คือ กระบวนการเคลือบเชิงไฟฟ้า
(Electrolytic Deposition) ด้วยโครเมียม (Chromium)
การชุบฮาร์ดโครมสามารถทำได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด
ยกเว้น อลูมิเนียม และขี้ตะกั่ว
โลหะที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง
ก่อนการเคลือบด้วยโครเมียม
ผิวของวัสดุต้องถูกทำให้เรียบเนียนและชุบแข็งมาแล้ว
ความเรียบเนียนช่วยให้โครเมียมที่เข้าไปเคลือบสามารถติดกับผิววัสดุเดิมได้
เป็นอย่างดีมีผลทำให้การเคลือบผิวเกิดช่องว่างของโครเมียมน้อย
มีความแข็งแรงทนต่อการเสียดสีได้ดีเมื่อนำมาขัดผิวขั้นตอนสุดท้ายจะได้ผิว
ที่มีความสวยงาม ลื่น น่าใช้
และการชุบแข็งวัสดุมาก่อนจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ชิ้นงานและผิวของ
โครเมียมได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดค่าความแข็งผิวที่สูง ทนการเสียดสีได้ดี
และยึดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น
หากแต่ขั้นตอนนี้ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า
ในกระบวนการก่อนการชุบฮาร์ดโครมได้มีการชุบแข็งมาก่อนแล้วหรือไม่
เนื่องจากผิววัสดุถูกปิดบังไปด้วยโครเมียมนั่นเอง
เราจึงต้องสังเกตุจากอายุการใช้งานเป็นหลัก
ถ้าหากมีการชุบแข็งมาก่อนอายุการใช้งานจะใช้ได้ยาวนานมากกว่า
และจะไม่เกิดการหลุดร่อนของโครเมียม
แต่หากไม่มีการชุบแข็งมาก่อนผิวของโครเมียมธรรมดาก็ไม่ได้แข็งไปกว่าผิวชุบ
แข็งปกติเท่าไรนัก รวมทั้งการชุบฮาร์ดโครมนิยมใช้กับวัสดุประเภทเหล็ก
จึงอาจบอกได้ว่าผิวแข็งของชั้นโครเมียมที่ 20 ไมครอน
บอบบางเกินกว่าที่จะใช้งานเสียดสีได้ในระยะเวลานานๆ
ซึ่งหมดผิวของโครเมียมก็จะเป็นเหล็กธรรมดานั่นเองอายุการใช้งานจึงสั้นกว่า
ผิวที่มีการชุบแข็งก่อนแล้วค่อยนำไปฮาร์ดโครม
ดังนั้นเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานควรที่จะนำวัสดุไปชุบแข็งก่อนทำการฮาร์ดโครม
การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภท ดังนี้
1. การชุบบาง
เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง
หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี
2.
การชุบหนา
เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย
ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม สามารถชุบหนาถึง 1.0มม.
คุณลักษณะจำเพาะ
เรียบลื่น
เป็นมันเงา
และไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับการชุบผิว แม่พิมพ์พลาสติก
เพื่อสามารถแกะชิ้นงานออกได้ง่าย
ความสวยงาม และเพิ่มความแข็งแกร่งของชิ้นงานให้มีความแข็งสูงถึง
58-62 H.R.C
คุณสมบัติของชิ้นงานหลังการชุบฮาร์ดโครม
- ทนความร้อน (Heat
Resistance)
- ค่าความแข็งสูง
(High Hardness)
- ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี
(Good Wear Resistance)
- ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี
(Good Corrosion Resistance)
- สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ
(Low Coefficient of Friction)
- ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ
(Low Temperature Treatment)
ตัวอย่างชิ้นงานที่นำมาชุบฮาร์ดโครม เช่น
กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ ใบพัด (Rotors)
ลูกโม่ (Rollers) วงแหวนลูกสูบ (Piston ring) ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold
surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ
(Dies) ตะปูควง
(Screws) เข็มร้อยด้าย
(Thread guides) และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น
ที่มา : maxsteelthai, ณัฐทรัพย์ เอ็นจิเนียริ่ง
No comments:
Post a Comment