การใช้งานสังกะสีที่เด่นชัดที่สุดคือ ชุบเคลือบเหล็กป้องกันการผุกร่อน ชั้นสังกะสีจะป้องกันไม่ให้เหล็กผุกร่อนเป็นสนิมได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากสังกะสีจะทำหน้าที่ป้องกันเหล็กใน 2 ทาง คือ เป็นชั้นป้องกันไม่ให้เหล็กผุกร่อน (Barrier Protection) และ ผุกร่อนแทนเหล็ก (Cathodic Protection)
สังกะสีมีอัตราการผุกร่อนที่ช้ามาก ดังนั้นจึงป้องกันเหล็กไม่ให้เจอกับสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิดสนิมได้เป็น เวลานาน จากการศึกษาของ ASTM แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่าในเขตเมืองอัตราส่วนการผุกร่อนของสังกะสีเมื่อเทียบกับเหล็กเท่ากับ 1 : 20 และจะเท่ากับ 1 : 80 ในบริเวณชายทะเลหรือเขตอุตสาหกรรม ดังนั้นการชุบเคลือบเหล็กด้วยสังกะสีจึงเหมือนกับการสร้างเกราะป้องกันให้ กับเหล็กนั่นเอง
เหล็กชุบสังกะสีเหมาะกับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค สามารถป้องกันเหล็กในระยะยาว โดยไม่ต้องมีการซ่อมบำรุง ได้แก่ ราวกั้นขอบทาง สะพาน เสาไฟฟ้า สถานีส่งไฟฟ้า ท่อเหล็กชุบสังกะสี แผ่นเหล็กชุบสังกะสี (มุงหลังคา ทำผนังอาคาร รั้วบ้าน) ลวดเหล็กและตะปู เป็นต้น
อิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีของชั้นเคลือบสังกะสี
ปัจจุบัน
ชั้นเคลือบสังกะสีมีการพัฒนาปรังปรุงส่วนผสมทางเคมีของโลหะสีกะสีที่ใช้ใน
การเคลือบผิว
โดยจากเดิมซึ่งมีการใช้สังกะสีบริสุทธิ์ในการเคลือบผิวหน้าได้มีการเติมธาตุ
ผสม (Alloying Element) ต่าง ๆ
ลงในสังกะสีที่ใช้ในการเคลือบผิวเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ
เช่นคุณสมบัติความต้านทานการกัดกร่อน หรือความสามารถในการเคลือบให้สูงขึ้น
โดยตาราง แสดงตัวอย่างของธาตุผสมและอิทธิพลที่มีต่อชั้นเคลือบสังกะสี
ตาราง อิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีต่อคุณสมบัติชั้นเคลือบ
ปัจจุบัน วิธีการนำสังกะสีมาใช้ป้องกันเหล็กไม่ให้ผุกร่อนมีมากมายหลายวิธี
เพื่อให้ได้ชั้นสังกะสีที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่ต่างกันด้วย
คุณสมบัติของชั้นสังกะสี
|
การชุบแบบจุ่มร้อน
(Hot
Dip Galvanizing)
|
การชุบแบบใช้ไฟฟ้า
(Electroplating)
|
การพ่นชั้นสังกะสี
(Zinc
Spraying)
|
ชั้นสีที่มีฝุ่นสังกะสี
(Zinc
Rich Paint)
|
ความสามารถในการยึดเกาะ
|
ดีมาก : ชั้นสังกะสีจะยึดติดกับผิวเหล็กอย่างเหนียวแน่นเชิงโลหะ
เนื่องจากในกระบวนการชุบจะมีชั้นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับสังกะสีเกิดขึ้น และมีชั้นสังกะสีบริสุทธิ์เคลือบทับชั้นโลหะผสมอีกทีหนึ่ง
|
ดี :
การยึดติดกับผิวเหล็กดีเทียบเท่ากับการชุบโลหะอื่นๆแบบใช้ไฟฟ้า
|
ดี : เมื่อมีการเตรียมผิวเหล็กอย่างถูกต้อง
ด้วยการใช้วิธีพ่นผงเหล็กเพื่อขัดผิวเหล็กให้สะอาดจนถึงเหล็กขาว จากนั้นจึงพ่นชั้นสังกะสีหรือทาสีที่มีฝุ่นสังกะสีลงไปบนผิวเหล็ก
|
|
ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอของชั้นสังกะสี
|
ผิวเหล็ก บริเวณที่ไม่มีชั้นสังกะสีเคลือบอยู่จะสังเกตเห็นเป็นจุดสีดำอย่างชัดเจน
ชั้นสังกะสีส่วนใหญ่จะเรียบสม่ำเสมอกัน ยกเว้นในบางจุดที่สังกะสีไหลกลับลงบ่อชุบไม่ทัน
เช่นบริเวณส่วนปลายของชิ้นงานที่ออกจากบ่อชุบหลังสุด
|
ชั้นสังกะสีจะสม่ำเสมอภายใต้ข้อจำกัดของกระแสไฟฟ้าที่จ่าย
ให้กับบ่อชุบ อย่างไรก็ตามชั้นสังกะสีอาจมีรูพรุน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา
เพราะสังกะสีที่อยู่ใกล้เคียงจะช่วยป้องกันเหล็กบริเวณที่ไม่มีสังกะสีปก คลุมอยู่
ไม่ให้เกิดการผุกร่อน
|
ความสม่ำเสมอจะขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของผู้
ปฏิบัติงาน ชั้นสังกะสีที่ได้จะมีรูพรุนควรใช้สีทาทับอีกชั้นหนึ่งด้วย แต่ถ้าไม่ใช้สีทาทับ
ในไม่ช้าสารประกอบของสังกะสีที่ผุกร่อนก็จะปิดรูพรุนเหล่านี้ทำให้อากาศและ ความชื้นไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงเนื้อเหล็กข้างในได้
|
ชั้นสีจะมีรูพรุน
แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะ รูพรุนเหล่านี้จะถูกปิดทับด้วยสารประกอบของสังกะสีที่ผุกร่อน
ทำให้อากาศและความชื้นไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงเนื้อเหล็กได้
- บริเวณที่เป็นมุม ชั้นสีจะบางกว่าบริเวณอื่น
|
ความหนา
|
โดยทั่วไปความหนาจะอยู่ระหว่าง
50 – 125 ไมครอน แต่หากเหล็กที่นำมาชุบเป็นเหล็ก Killed Steel ซึ่งมีซิลิกอน (Si) สูง หรือเหล็กที่เตรียมผิวโดยการพ่นทราย
/ พ่นผงเหล็ก ชั้นสังกะสีอาจหนาได้ถึง250 ไมครอน สำหรับแผ่นเหล็กและลวดที่ใช้การชุบแบบต่อเนื่องจะมีความหนา
10 – 30 ไมครอน
|
ความหนาจะอยู่ในช่วง
3 – 15 ไมครอนขึ้นอยู่กับความต้องการ
อย่างไรก็ตามสามารถชุบให้หนากว่านี้ได้แต่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
|
ความหนาอยู่ในช่วง
100 – 150 ไมครอนขึ้นอยู่กับความต้องการ แต่สามารถพ่นสังกะสีได้หนาถึง 500 ไมครอนได้
|
สามารถทาสีให้หนาได้ถึง
40 ไมครอน ต่อการทาสี 1 ชั้น หากต้องการให้หนามากๆ
ให้ทาทับหลายๆครั้ง
|
การขึ้นรูปและคุณสมบัติเชิงกลของชั้นสังกะสี
|
สามารถแบ่งชั้นสังกะสีออกเป็น
2 ส่วนคือ
1)ชั้นโลหะผสมจะมีความแข็งสูง ต้านทานการขูดขีด
และการกระแทกในระหว่างขนย้ายได้ดี แต่อาจเปราะแตกได้เมื่อนำไปดัดโค้ง
2) ชั้นสังกะสีบริสุทธิ์ เคลือบทับอยู่บนชั้นโลหะผสม
ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กสัมผัสกับบรรยากาศภายนอก
ชิ้นงานที่นำมาชุบแบบจุ่มร้อนนี้โดยทั่วไปจะเป็นชิ้นงาน
ที่ขึ้นรูปเรียบร้อย พร้อมนำไปใช้งานทันที เนื่องจากชั้นโลหะผสมอาจเปราะแตกได้หากนำไปขึ้นรูป
อย่างไรก็ตามสำหรับแผ่นเหล็ก และลวดที่ชุบแบบต่อเนื่องจะมีชั้นโลหะผสมบางมาก ดังนั้นสามารถนำไปดัดโค้งหรือขึ้นรูปได้ตามสภาพการใช้งาน
|
มีคุณสมบัติในการขึ้นรูปดีมาก และสามารถทำการเชื่อมแบบจุด
(Spot Welding) ได้
|
การพ่นชั้นสังกะสีจะนิยมกับชิ้นงานที่ขึ้นรูปสำเร็จแล้ว
หรือชิ้นงานที่ติดตั้งไปแล้วโดยที่ยังไม่มีการป้องกันการผุกร่อน ข้อดีของการชุบแบบนี้คือสามารถเชื่อมได้โดยลบชั้นสังกะสีออกจากแนวเชื่อม
ก่อน แล้วจึงพ่นชั้นสังกะสีทับเมื่อเชื่อมเสร็จ
|
ความสามารถในการต้านทานการขูดขีดดีกว่าสีที่ใช้กันอยู่
ทั่วไป แผ่นเหล็กที่ผ่านการทาสีที่มีฝุ่นสังกะสีนี้สามารถนำไปขึ้นรูป และเชื่อมได้
|
สภาพการใช้งานที่เหมาะสม
|
-
ใช้งานที่แจ้งในสภาพบรรยากาศทั่วไป
- ใช้ในบริเวณที่มีสภาวะการกัดกร่อนสูงเช่นพื้นที่ใกล้ทะเล
หรือในเขตอุตสาหกรรม
|
-
ใช้งานในร่มที่มีสภาพการกัดกร่อนไม่รุนแรง
-
ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ภายในบ้าน
|
-
ใช้กับงานโครงสร้างที่ติดตั้งไปแล้ว
แต่ยังไม่ได้ป้องกันการผุกร่อน
-
ใช้ในงานซ่อมบำรุงต่างๆ
|
-
ใช้กับงานโครงสร้างที่ติดตั้งไปแล้ว
แต่ยังไม่ได้ป้องกันการผุกร่อน
-
ใช้ในงานซ่อมบำรุงต่างๆ
-
ใช้ทาซ่อมแซมชั้นสังกะสีบริเวณที่ชุบไม่ติด
|
ที่มา : coezinc
No comments:
Post a Comment